แชร์

รู้หรือเปล่าโรงงานอลูมิเนียมแผ่น ผลิตอลูมิเนียมออกมาอย่างไร?

อัพเดทล่าสุด: 26 ม.ค. 2024
1642 ผู้เข้าชม
รู้หรือเปล่าโรงงานอลูมิเนียมแผ่น ผลิตอลูมิเนียมออกมาอย่างไร?

อลูมิเนียม (Aluminum) หนึ่งในวัสดุที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวางในหลากหลายอุตสาหกรรม ด้วยคุณสมบัติที่ยืดหยุ่น และนำใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ปัจจุบันอลูมิเนียมเป็นวัสดุที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ตามไซต์งานก่อสร้าง โครงสร้างอาคารอย่างประตูหน้าต่าง รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์อย่างกระป๋องน้ำอัดลมหรือฟอยล์ห่ออาหาร เป็นต้น 

เชื่อว่าภาพจำของใครหลายคนเมื่อนึกถึงอลูมิเนียม มักเป็นรูปแบบของ แผ่น หรือ ม้วน แต่เคยทราบกันไหมว่า ก่อนที่จะมาเป็น อลูมิเนียมแผ่นหรือคอยล์ ทางโรงงานอลูมิเนียมแผ่นมีกระบวนการผลิตอย่างไรบ้าง? RMC Group จะมาบอกให้รู้ในบทความนี้

ทำความรู้จัก คุณสมบัติทั่วไปของอลูมิเนียม

อลูมิเนียม จัดเป็นโลหะประเภท Non-ferrous Metal หรือโลหะที่ไม่มีเหล็ก (Iron) เป็นองค์ประกอบ อลูมิเนียมจึงเป็นวัสดุที่มีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบาเพียง 1 ส่วน 3 ของเหล็กเท่านั้น แต่มีกำลังวัสดุ (Strength) ต่อน้ำหนักสูง สามารถรับภาระน้ำหนักได้สูง

หนึ่งคุณสมบัติโดดเด่นของอลูมิเนียม คือ การยืดตัว ดังนั้น โรงงานผู้ผลิตอลูมิเนียมแผ่นจึงนำมาขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีต่างๆ ได้ โดยไม่เกิดการแตกหัก มีจุดหลอมเหลวต่ำที่ 660 องศาเซลเซียส จึงหล่อหลอมง่าย และนำมาผสมกับโลหะชนิดอื่นๆ ได้อีกด้วย นอกจากนี้ อลูมิเนียมยังเป็นสื่อนำไฟฟ้าได้ดี เพราะมีความต้านทานไฟฟ้าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ใช้เป็นส่วนประกอบในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สายไฟฟ้า 

อีกหนึ่งประโยชน์ของอลูมิเนียม คือ การเป็นโลหะที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย สามารถนำไปทำเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารและเครื่องดื่มและภาชนะหุงต้มได้เป็นอย่างดี

ด้วยลักษณะของอลูมิเนียมที่มีพื้นผิวมันวาว มีดัชนีการสะท้อนแสงสูง สามารถนำมาผลิตแผ่นสะท้อนแสงแฟลชสำหรับการถ่ายรูป จานสะท้อนแสงในโคมไฟและไฟหน้าของรถยนต์ สุดท้ายนี้ อลูมิเนียมมีความทนทานต่อการเกิดสนิมและการผุกร่อนได้ดี ปัจจุบันนี้อลูมิเนียมจึงกลายเป็นวัสดุที่หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด

กระบวนการผลิตอลูมิเนียม

มาถึงขั้นตอนการผลิตอลูมิเนียมก่อนจะกลายมาเป็นรูปแบบแผ่นที่เราคุ้นเคยกันในทุกวันนี้ ซึ่งก่อนที่โรงงานอลูมิเนียมแผ่นจะเริ่มกระบวนการผลิตนั้น ก็ต้องเริ่มการจากนำวัตถุดิบอย่างแร่บอกไซต์ (Bauxite) นั่นเอง

แหล่งที่มาของอลูมิเนียม

อลูมิเนียมเป็นโลหะที่พบได้ในแร่บอกไซต์เป็นแร่ที่พบได้ตามธรรมชาติ โดยแร่บอกไซต์มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง อัดตัวแน่น มีสีเหลืองจนถึงน้ำตาลแดง จะมีอลูมิเนียม ซึ่งถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2363 ในเหมืองบอกไซต์ ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันประเทศที่มีแหล่งบอกไซต์สำคัญ ได้แก่ ประเทศกินี จาไมกา เวเนซุเอลา ออสเตรเลีย บราซิล จีน อินโดนีเซีย อินเดีย และเวียดนาม

กระบวนการผลิตอลูมิเนียม


ในตอนต้น แร่บอกไซต์ (Bauxite) ถูกโรงถลุงอลูมิเนียมนำมาสกัดอลูมินา (Alumina) หรืออลูมิเนียมออกไซด์ (Aluminum Oxide) ออกมาในลักษณะของผง ผ่านกรรมวิธีต่างๆ แต่วิธีที่เป็นที่รู้จักและนิยมคือ กระบวนการเบเยอร์ (Bayer Process)

กระบวนการเบเยอร์ (Bayer Process) ประกอบไปด้วยขั้นตอนการสกัดอลูมินา 4 ขั้นตอนหลัก คือ

  1. การย่อย (Digestion) - คือ การบดให้แร่บอกไซต์มีขนาดเล็กลง และนำไปผสมกับโซเดียม ไฮดรอกไซต์ (Sodium Hydroxide) และถูกเทลงไปในถังย่อย ทำให้อลูมินาในแร่บอกไซต์ละลายออกมาในรูปแบบของสารประกอบอลูมิเนียมไฮดรอกไซต์ ส่วนสารอื่นๆ จะตกตะกอนอยู่ใต้ถัง
  2. การทำให้ใส (Clarification) - การกรองและคัดแยกสารต่างๆ นอกจากอลูมินา และส่งอลูมิเนียมไฮดรอกไซต์ไปยังถังตกตะกอน
  3. การตกตะกอน (Precipitation) - อลูมิเนียมไฮดรอกไซต์จะถูกทำให้เย็น และปล่อยให้ตกตะกอนที่เป็นผงแข็งสีขาว
  4. การเผาไล่น้ำ (Calcination) - ตะกอนอลูมิเนียมไฮดรอกไซต์ จะถูกส่งเข้าเตาเผาและเผาที่อุณหภูมิ 1,050 องศาเซลเซียส เพื่อเปลี่ยนอลูมิเนียมไฮดรอกไซต์ให้สลายตัวเป็นอลูมิเนียมออกไซด์ หรืออลูมินา

นอกจากกระบวนการเบเยอร์แล้ว ยังมีวิธีทางเคมีและการใช้กระแสไฟฟ้า (Hall-Héroult Process) อีกด้วย ซึ่งอลูมินาที่ได้มาจากการผลิตขั้นต้นเหล่านี้ อาจมีสารมลทินเจือปนอยู่บ้าง ดังจึงต้องนำมาผ่านกระบวนการอีกขั้นตอน เพื่อสกัดให้อลูมิเนียมมีความบริสุทธิ์สูงที่สุด ก่อนนำไปแปรรูปและใช้งานในขั้นตอนต่อไป

การขึ้นรูปอลูมิเนียม


เมื่อโรงถลุงอลูมิเนียมได้อลูมินามาเป็นวัตถุดิบเป็นที่เรียบร้อย ก่อนที่จะส่งต่อให้กับโรงงานอลูมิเนียมแผ่น โรงถลุงอาจนำอลูมินามา หล่อขึ้นรูป (Casting) เพื่อทำเป็นแท่ง (Ingot) โดยการหลอมละลายอลูมินา จากนั้นอัดฉีดอลูมินาเหลวเข้าไปในแม่พิมพ์ด้วยแรงดันสูง ทั้งนี้ก็มีทั้งวิธีการหล่อร้อน การหล่อเย็น การหล่อแรงดันต่ำ การหล่อสุญญากาศ การหล่ออัด และการหล่อโลหะกึ่งของแข็ง

โรงงานอลูมิเนียมแผ่น จะมีการใช้วิธี "ใช้แรงขึ้นรูป (Wrought)" ในการผลิตอลูมิเนียมออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น อลูมิเนียมแผ่น แท่ง ท่อ เป็นต้น เพื่อไว้สำหรับจำหน่ายและนำไปชิ้นงานอื่นๆ โดยวิธีการใช้แรงขึ้นรูป แบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบย่อย คือ 

  1. การอัดรีดขึ้นรูป (Extrusion) - เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูง เพราะการอัดรีดแท่งอลูมิเนียมเข้าไปในช่องเปิดของแม่พิมพ์ จะทำให้ชิ้นงานออกมามีความยาวต่อเนื่อง พื้นที่หน้าตัดเท่ากัน สามารถผลิตอลูมิเนียมที่มีรูปแบบซับซ้อนหลากหลาย ทำให้เป็นมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ
  2. การรีดขึ้นรูป (Rolling) - การรีดขึ้นรูปจะอาศัยเครื่องจักร Roller ในการรีดอลูมิเนียม เพื่อลดความหนาของวัสดุ เปลี่ยนให้แท่งอลูมิเนียมหนาๆ กลายเป็นแผ่นบาง ฟอยล์ หรือคอยล์ 
  3. การทุบขึ้นรูป (Forging) - เป็นกระบวนการแปรรูปโลหะให้กลายเป็นชิ้นงานโดยใช้แรงทุบ สามารถทำได้ด้วยการตีด้วยค้อน การตีกระแทก ซึ่งเป็นวิธีที่มักใช้ในการผลิตชิ้นงานโลหะ ที่มีรูปร่างเป็นบ่าหรือขอบ

ซึ่งโรงงานผู้ผลิตอลูมิเนียมแผ่นมักใช้วิธีการอัดรีดขึ้นรูป เพื่อสร้างชิ้นงานอลูมิเนียมที่ได้มาตรฐาน มีความสม่ำเสมอ และเรียบร้อยสวยงาม ก่อนที่จะนำมาจัดจำหน่ายสู่ท้องตลาด นอกจากนี้ วิธีการผลิตอลูมิเนียมยังส่งผลต่อราคาอลูมิเนียมแผ่นอีกด้วย ยิ่งเป็นผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน มีอลูมิเนียมคุณภาพสูง ก็อาจมีราคาสูงขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยคุณภาพสินค้าที่มีประสิทธิภาพยิ่งกว่านั่นเอง

จบไปแล้วกับกระบวนการผลิตอลูมิเนียมที่พบได้ทั่วไป ตามโรงงานอลูมิเนียมแผ่น จะเห็นได้ว่าเป็นวิธีการที่มีหลายขั้นตอนมากทีเดียว ซึ่งหากคุณกำลังมองหาแผ่นอลูมิเนียม หรือผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมต่างๆ สามารถติดต่อ RMC GROUP ได้ทันที

สั่งซื้อผลิตผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมคุณภาพสูง ที่ RMC GROUP

RMC GROUP (อาร์ เอ็ม ซี กรุ๊ป) คือ ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมคุณภาพสูง ได้มาตรฐานสากล และได้รับความไว้วางใจจากตัวแทนจำหน่ายชั้นนำทั่วประเทศไทยมายาวนานกว่า 30 ปีเราจำหน่ายผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอลูมิเนียมแผ่น อลูมิเนียมคอยล์ หรือ อลูมิเนียมแผ่นลายกันลื่น มีระดับความหนาให้เลือกตามการใช้งาน สามารถสั่งซื้อได้ตามความต้องการ

ขอใบเสนอราคา : www.rmc.co.th/quotation-aluminium/ 

สามารถติดต่อ RMC GROUP ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

Call Center : 034 813 972 80

ติดต่อฝ่ายขาย : 061 980 7350

Email : info@rmc.co.th

LINE ID : @rmcgroup

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ